คุยกับ บก.


18 พ.ค. 2566    adminejor    33

Editor Talks

Soft Power : ภาพจำไทยในผลิตภัณฑ์

 

    ท่ามกลางความดุเดือดของสมรภูมิเศรษฐกิจโลก การทะลัก ของสินค้าจากจีนที่มีราคาต่ำกว่าท้องตลาดด้วยจุดแข็ง ด้านต้นทุนค่าแรงงานได้สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อผู้ประกอบการในทุกอุตสาหกรรม ตั้งแต่อาหาร เสื้อผ้า ของใช้ในชีวิตประจําวัน สมาร์ทโฟน ไปจนถึงยานยนต์ ผลกระทบนี้ไม่ได้เพียงส่งผลต่ออุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งเท่านั้น แต่ขยายวงกว้างไปทั่วทั้งระบบเศรษฐกิจไทย
    “ซอฟต์พาวเวอร์” จึงเป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญที่รัฐบาลไทย ได้ผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถก้าวข้ามผลกระทบนี้ ผ่านกระบวนการโน้มน้าวผู้บริโภคให้ตัดสินใจเลือกผลิตภัณฑ์ ต่าง ๆ จากประเทศไทย โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมขีดความสามารถ ในด้านความคิดสร้างสรรค์ของคนไทย การพัฒนาสินค้า และบริการที่เสนอจุดเด่นของประเทศ ทั้งภูมิปัญญาดั้งเดิม ตลอดจนการสร้างสรรค์จากคนรุ่นใหม่ เพราะซอฟต์พาวเวอร์เป็นเครื่องมือทางเศรษฐกิจที่ลุ่มลึก แต่ทรงพลังในการสร้าง ความเข้มแข็งเชิงวัฒนรรรม และรายได้ในภาคเศรษฐกิจ

    อุตสาหกรรมสารฉบับนี้ ได้รวบรวมตัวอย่างความสำเร็จ ของการนำเสนอมิติต่าง ๆ แห่งความเป็นไทย ซึ่งเป็นภาพจํา สำหรับผู้บริโภคในหลากหลายรูปแบบ ทั้งในแง่การสื่อสาร อัตลักษณ์ การประยุกต์ตามยุคสมัย ตลอดจนภาพจําในเชิง คุณภาพ ความประณีต ละเอียดลออของสินค้าไทย ในกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจ และจุดประกายแนวคิดให้กับว่าที่ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ คว้าโอกาสท่ามกลางความท้าทายของเศรษฐกิจโลก

 

ขับเคลื่อนธุรกิจของคุณ

ด้วยขุมพลังแห่งการสร้างสรรค์ไปพร้อมกัน

 

วรรณารัตน์ เกตุแก้ว

บรรณาธิการบริหาร

วารสารอุตสาหกรรมสาร ฉบับที่ 4 ประจำปี 2567